วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์การพัฒนา/อำนาจหน้าที่

วิสัยทัศน์
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหล่มได้กำหนดวิสัยทัศน์คือ
“คุณภาพชีวิตดี มีคุณธรรม นำสู่ความเป็นเลิศ”
ในที่นี้ หมายความว่า การพัฒนาเพื่อมุ่งให้ประชาชนในตำบลมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งประกอบด้วย การมีสุขภาพที่ดี มีการศึกษาที่มีคุณภาพ มีรายได้ที่มั่นคง มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นตามความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง มีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น มุ่งมั่นพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ ในเรื่องของการมีคุณธรรม นั้น อาศัยการนำหลักธรรมาภิบาล หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมทุกกิจกรรม พร้อมทั้งส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการปลูกฝังจิตสำนึก ให้เป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงามเมื่อประชาชนในตำบลมีคุณภาพชีวิตและมีคุณธรรมแล้ว การที่จะดำเนินกิจกรรมทุกด้านร่วมกับภาครัฐและเอกชนก็จะก่อให้เกิดความเป็นเลิศ หรือมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนั้นๆ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาต่อไป

ยุทธศาสตร์
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
5. ยุทธศาสตร์ การพัฒนาด้านการพัฒนาการเมือง-การบริหาร

เป้าประสงค์
1) ร้อยละระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมาตรฐานเพิ่มขึ้น
2) ร้อยละของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ดี
3) ร้อยละของประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
4) ร้อยละของประชาชนที่มีอาชีพและรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
5) ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา
6) ร้อยละเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงานที่เอื้อต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้

ตัวชี้วัด
1) ร้อยละถนน รางระบายน้ำ ท่อ และ สะพาน ที่ได้มาตรฐาน
2) ร้อยละสิ่งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
3) ร้อยละพื้นที่ที่ไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุม
4)ร้อยละของประชาชนที่มีจิตสำนึกและมีความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5) ร้อยละของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้มาตรฐาน
6) ร้อยละของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ด้อยโอกาสที่ได้รับการพัฒนา
7) ร้อยละของจำนวนประชาชนตำบลแม่สันที่ได้รับการศึกษา
8) ร้อยละของประชาชนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
9) ร้อยละของประชาชนที่มีสุขภาพดี
10) จำนวนชุมชนที่มีความเข้มแข็ง
11) ร้อยละของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้
12) ร้อยละของครัวเรือนยากจน
13) ร้อยละของสินค้าท้องถิ่นได้กระจายภายในท้องถิ่น
14) จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการส่งเสริม
15) ร้อยละของจำนวนบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา
16) ร้อยละเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงานที่มีมาตรฐาน

ค่าเป้าหมาย
1) ร้อยละระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมาตรฐานเพิ่มขึ้น
2) ร้อยละของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ดี
3) ร้อยละของประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
4) ร้อยละของประชาชนที่มีอาชีพและรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
5) ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา
6) ร้อยละเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงานที่เอื้อต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้

กลยุทธ์
-การก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ถนน สะพาน
-การพัฒนาด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ
-การขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ
-การวางผังเมืองรวม
-การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-การบำบัดฟื้นฟู การเฝ้าระวังและการป้องกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-การสังคมสังเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
-การจัดการศึกษา
-การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
-การป้องกันรักษาและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
-การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
-การส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน
-การส่งเสริมการตลาด และการใช้สินค้าท้องถิ่น
-การส่งเสริมการท่องเที่ยว
-การพัฒนาบุคลากร
-การปรับปรุง พัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และ สถานที่ปฏิบัติงาน

จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหล่ม

ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีจุดยืนทางยุทธศาสตร์ คือ
1) ประชาชนได้รับการพัฒนาและตอบสนองปัญหาได้อย่างทันท่วงที
2) ประชาชนต้องได้รับบริการสาธารณะอย่างครอบคลุม ทั่วถึง และได้มาตรฐาน

ยุทธศาสตร์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม มีจุดยืนทางยุทธศาสตร์ คือ
1) ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างความสุขทั้งกายและใจ ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลหนองหล่ม
2) พัฒนา และส่งเสริมให้หมู่บ้านชุมชนเกิดความเข้มแข็งต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

ยุทธศาสตร์ การพัฒนาเศรษฐกิจ มีจุดยืนทางยุทธศาสตร์ คือ
1) พัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานรากด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) ส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนโดยใช้ทุนของชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ การบริหารและพัฒนาองค์กร มีจุดยืนทางยุทธศาสตร์ คือ
1) เพิ่มขีดจำกัด และความสามารถของบุคลากรให้สามารถบริการสาธารณะแก่ประชาชนได้ครอบคลุมและทั่วถึง
2) พัฒนาระบบธรรมาภิบาลในการบริหารงานขององค์กร

ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม
ประเทศชาติจะได้รับการพัฒนาโดยรวมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในชาติ การพัฒนาในระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ โดยเฉพาะการพัฒนาในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงกันทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด ภูมิภาค และประเทศต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ไม่เป็นการดำเนินการที่ต่างคนต่างคิด ต่างทำ แต่อย่างไรก็ดีทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีความอิสระในการจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณแต่ควรคำนึงถึงบริบท และทิศทางการพัฒนาของคนทั้งชาติเป็นสำคัญด้วย
การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหล่มที่มีความเชื่อมโยงกันทั้งในระดับอำเภอ จังหวัด ภูมิภาค และประเทศชาติ จะต้องอาศัยข้อมูลในการวิเคราะห์และจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในสองระดับคือ ระดับที่ 1 ข้อมูลจากบนลงล่าง (top down) คือเกิดความเชื่อมโยงตั้งแต่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน1 ยุทธศาสตร์จังหวัดลำปางกรอบยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดลำปาง นโยบายของทางผู้ว่าราชการนจังหวัดลำปางนโยบายนายอำเภอห้างฉัตร นโยบายผู้บริหารท้องถิ่น และอื่นที่เกี่ยวข้อง ระดับที่ 2 ข้อมูลจากล่างขึ้นบน (bottom
up) โดยมีการเก็บข้อมูลจากแผนชุมชน ปัญหาความต้องการของประชาชนในการประชาคมท้องถิ่น ระดับหมู่บ้านระดับตำบล ความเห็นจากคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เป็นต้น ความเชื่อมโยงในภาพรวมของในระดับชาติ ภูมิภาค จังหวัด และท้องถิ่น คือการมุ่งสร้างสังคมแห่งความสุข เกิดความมั่นคง
ยั่งยืน สมดุล ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Leave A Reply

Your email address will not be published.